วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

คิดถึงบ้าน

ฟังเพลงได้ที่ http://www.dseason.com/coolsong/coolsong_play.php?id=971
มองดูดวงดาวก็คงเป็นดาวดวงเดียวกัน มองดูดวงจันทร์ก็เหมือนกับจันทร์ที่บ้านเรา

ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน

มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน

มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน

ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน


อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน

มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน

ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน

มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม

แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา

ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน


อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน

มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน

ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน

มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม

แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา

ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน


วิเคราะห์
ชื่อของกลอนนี้ คิดถึงบ้าน’ เป็นเนื้อหาโดยรวมของกลอน ชื้อของกลอนนั้นเรียบง่าย ส่วนเนื้อหาของกลอนนี้ถูกสร้างโดยการแบ่งเป็น สามบท บทแรกเริ่มต้นด้วยการอธิบายและพรรณนาถึงท้องฟ้าว่ามีอะไรอยู่บ้าง บทที่สองและสาม พรรณนาและบรรยายเกี่ยวกับความเหงาของการที่ต้องอยู่ในกรุง ซึ่งกวีเน้น‘คิดถึงบ้าน’ เพื่อที่จะที่ให้เข้าใจความหมายได้ง่ายลาบรื่นขึ้น ซึ่งช่วยทำกลอนนี้น่าสนใจและน่าติดตาม ในความคิดของผม ผมคิดว่ากลอนนี้นั้นเป็นกลอนที่สามารถเชื่อมโยงกับคนหลายๆคนที่จากบ้านมาไกล และจึงคิดถึงบ้าน
Mood/Tone ของกลอนนี้ให้อารมณ์ที่ โศกเศร้า และ โดดเดี่ยวเดียวดาย เป็นความรู้สึกคิดถึงบ้านชึงmood/tone นั้นถูกเสริมสร้างด้วนจังหวะทำนองที่เศร้า โดยกวีนั้นเน้นคำว่า ‘มอง’ เวลาอ่านกลอนแล้วออกเสียงออกมาจะเห็นได้ชัดว่า คำว่า มอง นั้นช่วยทำให้จังหวะนั้นเชื่องช้า เพราะมีการหยุดหลังจากพูดคำว่ามอง เป็นการยืดจังหวะเพื่อที่จะเสริมสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้อ่าน
การซ่ำคำเช่น ‘คิดถึงบ้าน’ ช่วยทำให้ผู้อ่านนั้นต้องคอยกลับไปนึกถึง theme ของกลอนอยู่เรื่อย ในกลอนนี้มีการใช้ สัมผัสพยัญชนะ สัมผัสสระ สัมผัสในและสัมผัสนอกทำให้กลอนนั้นมีจังหวะที่ลื่นไหลและคล่องคอ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น