วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

คำมั่นสัญญา โดย ธงไชย แมคอินไตย



ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิสวาทมิคลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพขอให้พี่
เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป

วิเคราะห์
ชื่อของกลอน ‘คำมั่นสัญญา’ นั้นบงบอกให้รู้เป็นอย่างแรกเลยว่าเป็นกลอนรัก กลอนนี้เนื้อหานั้นแรกเริ่มถ้าผู้ฟังไม่สังเกตนั้นจะไม่เข้าใจความหมายแฝงของกลอนนี้ที่ ที่มีความทะลึงลามกอยู่ไม่น้อยเลยที่เดียว Form ของกลอนนี้จะเป็นการเปรียบเทียบตนเองการสรรพสิ่งหลายๆอย่างเช่น
‘เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง'
โดยที่กวีนั้นได้ใช้คำเช่น ถึง หรือ แม้ ในทุกๆประโยค ซึ่งเป็นเหมือนการเริ่มประโยค และช่วยให้มีการเปรียบเทียบการยกตัวอย่างเช่น
‘แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา’
ทางค้าน Imagery กวีนั้นได้ใช้กลวิธีหลายๆอย่างเช่น อุปมาอุปไมย (simile/metaphor) และ hyperbole เพราะว่าการเปรียบแต่ละอย่างในกลอนนี้นั้นเกินจริงหมดเลย ทำให้เกิดภาพในจินตนการได้ดีขึ้นเวลาฟังหลอนนี้
Mood/Tone ของกลอนนี้ถึงแม้จะดูสดใสและน่ารักเพราะมีความหมายว่าผู้ชายคนนี้รักผู้หญิงคนหนึ้งมาก จนอยากจะไปเกิดเดียงข้างกันตลอกชั่วกาล แต่ทว่ากวีนั้นได้แฝงอารมณ์ของความ ทะลึง ลามกเอาไว้ ทำนองเนื้อหานั้น เป็นtone ที่ฟังแล้วดูนุ่มนวล เรียบง่าย ทำให้เข้าถึงอารมณ์ของกลอนดีขึ้นและช่วยเสริมสร้างภาพในจินตนการได้นุ่มนวลขึ้น
สำหรับ Diction กวีได้ใช้การแฝงนัยยะหรือใช้คำเพื่อสื่อความหมายอืนเพื่อเป็น สัญลักษณ์ที่มีความหมายนัยยะแอบแฝงที่ ทะลึง และ ลามก
โดยสรุปแล้ว กลอนนี้ส่วนมากเป็น Ambiguity เพราะมีเนื้อหาที่มึนงง และแฝงโดยความหมาย ทำให้ผูฟังนั้นอยากที่จะเสาะหาและแปรดวามหมายที่แท้จริงของกลอนนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น