ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
มองดูท้องฟ้าก็ยังเป็นฟ้าพื้นเดียวกัน
มองดูดวงตะวันก็ยังส่องแสงไปบ้านฉัน
ยามฟ้ามืดครึ้ม คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
อยู่ในเมืองกรุงก็คงวุ่นวายและวกวน
มีแต่ผู้คนก็เหมือนกับคนไม่รู้จักกัน
ชีวิตผกผัน คิดถึงบ้าน
มองไปทางใดก็มีแต่ตึกสูงสวยงาม
แต่ใจคนไม่งามเหมือนกับคนที่บ้านเรา
ยามนี้ฉันเหงา คิดถึงบ้าน
วิเคราะห์
ชื่อของกลอนนี้ ‘คิดถึงบ้าน’ เป็นเนื้อหาโดยรวมของกลอน ชื้อของกลอนนั้นเรียบง่าย ส่วนเนื้อหาของกลอนนี้ถูกสร้างโดยการแบ่งเป็น สามบท บทแรกเริ่มต้นด้วยการอธิบายและพรรณนาถึงท้องฟ้าว่ามีอะไรอยู่บ้าง บทที่สองและสาม พรรณนาและบรรยายเกี่ยวกับความเหงาของการที่ต้องอยู่ในกรุง ซึ่งกวีเน้น‘คิดถึงบ้าน’ เพื่อที่จะที่ให้เข้าใจความหมายได้ง่ายลาบรื่นขึ้น ซึ่งช่วยทำกลอนนี้น่าสนใจและน่าติดตาม ในความคิดของผม ผมคิดว่ากลอนนี้นั้นเป็นกลอนที่สามารถเชื่อมโยงกับคนหลายๆคนที่จากบ้านมาไกล และจึงคิดถึงบ้าน
Mood/Tone ของกลอนนี้ให้อารมณ์ที่ โศกเศร้า และ โดดเดี่ยวเดียวดาย เป็นความรู้สึกคิดถึงบ้านชึงmood/tone นั้นถูกเสริมสร้างด้วนจังหวะทำนองที่เศร้า โดยกวีนั้นเน้นคำว่า ‘มอง’ เวลาอ่านกลอนแล้วออกเสียงออกมาจะเห็นได้ชัดว่า คำว่า มอง นั้นช่วยทำให้จังหวะนั้นเชื่องช้า เพราะมีการหยุดหลังจากพูดคำว่ามอง เป็นการยืดจังหวะเพื่อที่จะเสริมสร้างอารมณ์ให้แก่ผู้อ่าน
การซ่ำคำเช่น ‘คิดถึงบ้าน’ ช่วยทำให้ผู้อ่านนั้นต้องคอยกลับไปนึกถึง theme ของกลอนอยู่เรื่อย ในกลอนนี้มีการใช้ สัมผัสพยัญชนะ สัมผัสสระ สัมผัสในและสัมผัสนอกทำให้กลอนนั้นมีจังหวะที่ลื่นไหลและคล่องคอ